พื้นโรงงานแบบไหนดีสุด? ข้อดี vs ข้อเสียและวิธีซ่อมที่ควรรู้
- Ferro Construction Products co., ltd
- 15 พ.ค.
- ยาว 2 นาที
การเลือกพื้นโรงงานที่เหมาะสม มักมาพร้อมกับการคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นความแข็งแรงทนทาน ความปลอดภัย การใช้งานในระยะยาว หรือแม้กระทั่งความความสวยงามและราคาที่เหมาะสม บางโรงงานอาจต้องการพื้นที่ช่วยป้องกันปัญหาไฟฟ้าสถิต แต่บางโรงงานอาจต้องการพื้นที่แข็งแรง สวยงาม และดูแลรักษาได้ง่าย ซึ่งความต้องการเหล่านี้จะแตกต่างกันไปตามประเภทอุตสาหกรรม สภาพแวดล้อมและการใช้งานของโรงงานประเภทนั้น ๆ
ในบทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักกับประเภทพื้นโรงงานแบบต่าง ๆ ที่ได้รับความนิยมจากโรงงานในประเทศไทย พร้อมเปรียบเทียบให้เห็นถึงข้อดีและข้อเสียของแต่ละประเภท และแนะนำวิธีการซ่อมแซมพื้นที่ผ่านการใช้งานจนสึกกร่อน ด้วยปูนซ่อมพื้นโรงงาน เทคโนโลยีล้ำสมัยที่จะมาพลิกโฉมการซ่อมพื้นแบบเก่าให้เร็ว และง่ายขึ้น!
ทำความรู้จัก 4 ประเภทพื้นโรงงานที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
การเลือกพื้นโรงงานที่เหมาะสมจะช่วยเสริมให้พื้นที่ได้มีประสิทธิภาพและอายุการใช้งานยาวนาน ซึ่งโรงงานแต่ละอุตสาหกรรมต่างก็มีลักษณะการใช้งานที่ต้องการแตกต่างกันไป และนี่คือพื้นโรงงาน 4 ประเภทที่ได้รับความนิยมจากเหล่าเจ้าของกิจการ เจ้าของโรงงาน หรือเจ้าของนิคมอุตสาหกรรมมากที่สุด
พื้นฮาร์ดเดนเนอร์ (Floor Hardener)
พื้นประเภทนี้จะมีสารเคมีเสริมความแข็งที่เรียกว่า "Floor Hardener" โดยจะใช้โรยไปบนพื้นคอนกรีตเชื่อมคอนกรีต แล้วใช้เครื่องขัดหน้าคอนกรีตหรือเครื่องคอปเตอร์ขัดเพื่อให้พื้นมีความแข็งแรง ลดการสึกกร่อน และรองรับน้ำหนักได้เยอะ สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีเสริมแข็งแบบ liquid hardener ซึ่งเป็นวัตถุดิบแบบเหลวเคลือบที่สามารถซึมเข้าและทำปฎิกิริยาภายในคอนกรีต เพื่อเสริมความแข็งแกร่งทนทานขั้นสุดได้

การใช้ Floor Hardener เคลือบไปบนคอนกรีต เหมาะกับพื้นที่ใช้งานหนัก เช่น พื้นโรงงานอุตสาหกรรม โกดัง หรือคลังสินค้าที่มีการเคลื่อนย้ายเครื่องจักร สิ่งของที่มีน้ำหนักมากอยู่ตลอดเวลา ไม่ทำให้พื้นยุบตัวหรือเสียหายได้ง่าย ทั้งยังทนทานต่อแรงขีดข่วน ดูแลรักษาได้ง่ายและมีราคาถูก พื้นประเภทนี้จึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
ข้อเสียของพื้น Floor Hardener ก็คือ ไม่ทนทานต่อสารเคมีบางชนิด หากมีการสัมผัสสารเคมีจำพวกกรด-เบสบ่อยครั้ง อาจทำให้พื้นโรงงานเสียหายได้ อีกทั้งการติดตั้งต้องใช้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญสูง เพื่อให้ได้พื้นหลังขัดสวยงามที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม หากโรงงานของคุณต้องการความเรียบสูง การขัดพื้นประเภทนี้เพื่อเพิ่มผิวแกร่งอาจไม่เหมาะสมเท่าไร เพราะผลลัพธ์หลังทำเสร็จอาจยังมีรอยเส้นจากการเครื่องขัดให้เห็นได้
เมื่อผ่านการใช้งานพื้นประเภทนี้ไปสักระยะหนึ่ง จนพื้นสึกกร่อนจากการถูกขูดขีด แรงกดรับน้ำหนัก หรือแรงกระแทกจนพื้นเสียหาย และต้องการยกระดับการซ่อมแซมให้มีมาตรฐานมากขึ้น เราแนะนำให้ซ่อมด้วยปูนซ่อมพื้นโรงงาน เพื่อปรับผิวคอนกรีตภายในคลังสินค้า ศูนย์กระจายสินค้าให้เรียบ และได้ค่ารับน้ำหนักสูง
พื้นอีพ็อกซี่ (Epoxy)
Epoxy คือพื้นยางสังเคราะห์เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้พื้นผิว ป้องกันสารละลาย มีประเภทสีที่หลากหลายและสามารถเลือกสีได้ตามความต้องการ เช่น
epoxy ผสมน้ำมัน จะทนต่อแรงกระแทกได้ดี ทนการสึกกร่อน
epoxy ผสมน้ำ จะแข็งตัวในสภาพความชื้น พื้นหน้า 0.1 mm.
epoxy ชนิดปรับความเรียบเองและจะมีความหนาเฉลี่ย 3 mm. มีความสามารถในการทนต่อน้ำหนักได้ดี กันน้ำซึม ฆ่าเชื้อ และทนต่อกรดรวมถึงสารเคมีได้ดี

หากพื้นโกดัง คลังสินค้าโรงงานไหนสึกกร่อนจากการใช้งาน ต้องการปรับปรุงพื้นใหม่ สามารถใช้ปูนซ่อมพื้นโรงงาน เฟอร์โรกรีต 215 มาช่วยปรับปรุงผิวคอนกรีตให้เรียบเนียน สวยงามได้ แล้วค่อยทาเคลือบ Epoxy ทับหลังเทพื้นโรงงานเสร็จ การซ่อมพื้นแบบนี้เป็นหนึ่งในทางเลือกที่ได้รับความนิยมในหมู่เจ้าของกิจการที่ต้องการเพิ่มความสวยงามให้พื้นอย่างมาก เพราะสามารถเลือกสีที่ใช้เพื่อแบ่งโซนตามการใช้งานได้ ซึ่งเหมาะกับโรงงานยา โรงงานอาหาร ที่ต้องการความสวยงาม สะอาดตา และความปลอดภัยสูงเป็นอย่างมาก
พื้นพียู (Polyurethane)
พื้น PU คือ พื้นที่ทำจากวัสดุพอลียูรีเทน (Polyurethane) เป็นพื้นสีคุณภาพสูงที่มีส่วนผสมของเรซิ่นสำหรับเคลือบพื้นคอนกรีต มีความทนทาน สามารถกันลื่น กันกรด-สารเคมีเข้มข้น กันการสึกกร่อนและปรับเปลี่ยนอุณหภูมิได้ดี พื้นโรงงานพียูจึงเหมาะสมกับโรงงานผลิตยา โรงงานผลิตสารเคมีต่าง ๆ ที่มีข้อบังคับเรื่องมาตรฐานอย่างเข้มงวด

หากเจ้าของโรงงานคนไหนกำลังปรับปรุงพื้นโรงงานใหม่ แล้วมีงบประมาณในการซ่อมแซม การทำพื้น PU นับว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ แม้ในขั้นตอนการติดตั้งจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการทำพื้นประเภทอื่น ๆ แต่มั่นใจได้เลยว่า พื้นหลังทำเสร็จได้มาตรฐานความปลอดภัยแน่นอน โดยเฉพาะโรงน้ำแข็ง โรงงานอุตสาหกรรมอาหารที่มีการใช้กรดแลกติกอยู่เสมอ
พื้น Vinyl
Vinyl (Vinyl condictive tile) ทำมาจากพลาสติก คาร์บอน ไฟเบอร์ ผงหินและวัสดุเสริมแบบอื่น ๆ มีคุณสมบัติป้องกันไฟฟ้าสถิต การเสียหายของผลิตภัณฑ์ หรือพวกกระแสไฟฟ้าที่เกิดจากการทำงานซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพของพนักงานได้
พื้นประเภท Vinyl ได้รับความนิยมที่สุดในหมู่โรงงานผลิตและประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ โรงงานไฟฟ้า ห้องแล็ป ห้องวิจัยหรือโรงพยาบาล แต่ข้อเสียของพื้นก็คือ อาจมีอายุการใช้งานสั้นกว่าพื้นแบบอื่นจากการหลุดลอกได้
วัตถุประสงค์การใช้งานของพื้นในโรงงาน
อย่างที่เกริ่นไปก่อนหน้านี้ว่า พื้นโรงงานแต่ละประเภทมีวัตถุประสงค์การใช้งานที่แตกต่างกันไปตามการใช้งาน เราจึงต้องเข้าใจก่อนว่า จุดประประสงค์ก่อนในการทำพื้นมีอะไรบ้าง ?
การรับน้ำหนัก: เจ้าของโรงงานส่วนมากต้องการพื้นโรงงานที่แข็งแรง เพื่อรับน้ำหนักและแรงกระแทกจากเครื่องจักรขนาดใหญ่หรือยานพาหนะขนาดใหญ่ เช่น รถโฟล์คลิฟท์ รถบรรทุก โดยพื้นที่ส่วนที่ต้องรับน้ำหนักมากที่สุด ก็คือ บริเวณที่วางเครื่องจักรหนัก หรือพื้นที่ที่มีการเคลื่อนย้ายวัตถุ แต่ระบบผิวหน้าคอนกรีตเป็นเพียงขั้นตอนเพิ่มความแข็งแรงเท่านั้น ถ้าต้องการพื้นคอนกรีตที่มีค่ารับน้ำหนักสูง ควรเทซ่อมพื้นด้วย ปูนซ่อมพื้นโรงงานที่ช่วยเสริมค่ารับน้ำหนักสูง แต่ก่อนพื้นเดิมก่อนเทปรับผิวใหม่ ต้องมีค่ารับน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 210 กก./ตร.ซม.
ความทนทานต่อสารเคมี: หากคุณทำโรงงานอุตสาหกรรมเกี่ยวกับโรงงานเคมี หรือโรงงานผลิตอาหาร หรือเป็นโรงงานซึ่งต้องทำงานสารเคมี ม้ำมัน กรด หรือสารละลายอื่น ๆ ที่อาจส่งผลให้พื้นเสียหายได้ คุณจะต้องเลือกวัสดุที่ทนทานต่อสารเคมีชนิดนั้น ๆ เพื่อป้องกันอันตรายจากการปนเปื้อนสารเคมี
ความสะอาด: การทำความสะอาดและการดูแลรักษาเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะพื้นที่ผลิตอาหาร หรือพื้นที่ที่ต้องการความสะอาดสูง จึงต้องเลือกวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย และป้องกันการปนเปื้อนเพื่อความปลอดภัยมากที่สุด
ความปลอดภัย: ในโรงงานที่มีความชื้นสูง มีห้องเย็น มีการใช้เครื่องจักรที่มีอุณหภูมิสูง หรือต้องใช้น้ำมันหรือสารเคมีในไลน์ผลิต มักจะเลือกวัสดุที่ช่วยป้องกันการลื่นไถล ไม่ก่อให้เกิดประกายไฟก็จะช่วยลดความเสี่ยง เพิ่มความปลอดภัยในสถานที่ทำงานได้
ความสวยงาม: อาจไม่ใช่วัตถุประสงค์หลัก แต่ก็มีหลายโรงงานที่ต้องการพื้นโรงงานที่ตอบสนองเรื่องการนำเสนอภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่องค์กร อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างบรรยากาศในที่ทำงานให้ดูเป็นระเบียบและสะอาดตา
สรุปข้อดี-ข้อเสียของพื้นโรงงานแต่ละประเภท
เพื่อช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้น หลังใช้ปูนซ่อมพื้นโรงงานเทปรับปรุงผิวคอนกรีตเรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่รู้ว่าควรเลือกเสริมความแกร่งให้ผิวโรงงานแบบไหนถึงจะตอบโจทย์การใช้งานและคุ้มค่าในระยะยาวมากที่สุด สามารถดูสรุปตารางเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียของพื้นโรงงานทั้ง 4 ประเภทที่เราจะสรุปไว้ให้ตามนี้ได้เลยครับ
ประเภทพื้นโรงงาน | ข้อดี | ข้อเสีย |
พื้น Hardener | - แข็งแรงทนทาน - ทนทานต่อการรับน้ำหนักสูง - ดูแลรักษาง่าย - ราคาไม่แพง - เหมาะกับพื้นที่ใช้งานหนัก | - ไม่ทนทานต่อสารเคมีบางประเภท - จำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการติดตั้ง - ไม่เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ต้องการความเรียบเนียนสูง |
พื้น Epoxy | - ทนทานต่อสารเคมีและการขัดถู - ดูแล ทำความสะอาดง่าย - สีสันสวยงาม เงา เรียบเนียน - ทนทานต่ออุณหภูมิสูง | - แห้งช้า ใช้เวลานาน - กลิ่นแรง กลิ่นฉุน - การติดตั้งต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ - อาจมีรอยขีดข่วน |
พื้น PU | - ทนทานต่อการขัดถู - ทนต่ออุณหภูมิเย็น-ร้อนได้ดี - ทนสารเคมีและแรงกระแทก - ดูแลรักษาง่าย | - ต้นทุนสูง - ต้องการการบำรุงรักษา - ติดตั้งยาก ต้องใช้ความชำนาญ - กลิ่นแรง กลิ่นฉุน |
พื้น Vinyl | - ทนทานต่อการขูดขีด - ป้องกันการเกิดฝุ่น - ป้องกันไฟไหม้และไฟฟ้าสถิต - ทำความสะอาดง่าย | - ไม่ทนต่อสารเคมีบางชนิด - มีความทนทานต่ำกว่าพื้น Epoxy - อายุการใช้งานจำกัด - ซ่อมแซมยาก |
เทพื้นโรงงานด้วยปูนซ่อมคุณภาพสูงจากเฟอร์โร
พื้นโรงงานสึกกร่อน เสียหาย กำลังมองหาปูนคุณภาพสูงไปช่วยซ่อมแซมพื้นให้กลับมาเรียบเนียน แข็งแรงตามมาตรฐาน เลือก เทพื้นโรงงานอุตสาหกรรม โกดัง คลังสินค้าด้วย เฟอร์โรกรีต 215E ปูนซ่อมพื้นโรงงาน นวัตกรรมเซ็ตตัวเร็ว ค่ารับน้ำหนักและแรงยึดเกาะสูง ให้ผิวที่เรียบเนียน อีกทั้งยังใช้งานง่ายเพียงผสมน้ำและเทพื้นหลังการเตรียมผิวได้ทันที
ปูนเทซ่อมของเฟอร์โรผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้หลากหลายรูปแบบ ด้วยโซลูชันซ่อมเร็ว เปิดใช้งานได้ไวเพียง 3 วัน หากสนใจเทซ่อมพื้นคอนกรีตก่อนทำพื้นโรงงาน เราเชื่อมั่นว่าผลิตภัณฑ์ปูนซ่อมพื้นโรงงานของเฟอร์โรคือ ทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับทุกโครงการเทพื้นโรงงานของคุณ