เฟอร์โรบอนด์ 101
ลาเท็กซ์ประสานคอนกรีต สำหรับภายในอาคาร
เฟอร์โรบอนด์ 101 ลาเท็กซ์ประสานคอนกรีตสูตรน้ำ ชนิดไวนิล อะซิเตท โคโพลิเมอร์ (Vinyl acetate copolymer) ใช้ประสานระหว่างคอนกรีตเก่ากับคอนกรีตใหม่ หรือปูนฉาบเก่ากับใหม่ ใช้ผสมกับน้ำและปูนทราย ทาด้วยแปรงสลัดน้ำเป็นชั้นประสาน ก่อนเทคอนกรีตทับหน้าบนพื้นคอนกรีตเดิม ออกแบบโดยเฉพาะใช้ภายในอาคาร ในบริเวณแห้งไม่สัมผัสน้ำ หรือความชื้นเท่านั้น เช่น ประสานพื้นท็อปปิ้งภายในบ้าน, คอนโดมิเนียม หรือผสมปูนซีเมนต์ในงานสลัดดอก ก่อนฉาบผนังภายในอาคาร
Overview
ภาพรวมสินค้า
Usage (การใช้งาน) | Advantages (ประโยชน์) |
สำหรับใช้ภายในอาคารและในที่ซึ่งไม่สัมผัสน้ำ หรือละอองน้ำ | แรงยึดเกาะดีเยี่ยมระหว่างคอนกรีตเก่า-ใหม่ |
งานประสานพื้นคอนกรีตเก่า-ใหม่ภายในอาคาร | เพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่ปูนทราย, ลดการแตกร้าว |
งานฉาบบางตกแต่งผนังและซ่อมแซมคอนกรีตภายในอาคาร | เพิ่มความทนทานต่อการเสียดสีและลดการห ดตัวให้แก่ปูนทราย |
งานติดกระเบื้องเซรามิค, พื้นและผนังบริเวณที่ไม่สัมผัสน้ำ | เพิ่มความเหลวลื่น, ฉาบง่าย |
งานสลัดดอก ก่อนฉาบผนังภายในอาคาร | ยึดเกาะได้ดีบนหลายผิววัสดุ เช่น แผ่นยิปซั่ม, อิฐบล็อก, คอนกรีต, ผนังปูนฉาบ, หิน, แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ |
Packaging (ขนาดบรรจุ) | Colour (สี) |
1 ลิตร/แกลลอน (10 แกลลอน/กล่อง) | ของเหลวสีขาว |
5 ลิตร/แกลลอน (4 แกลลอน/กล่อง, 40 กล่อง/พาเลท = 160 แกลลอน) | |
20 ลิตร/แกลลอน (24 แกลลอน/พาเลท) | |
200 ลิตร/ถัง | |
1,000 ลิตร/ถัง |
Technical Information
คุณสมบัติทางเทคนิค
คุณสมบัติ | ค่า | มาตรฐาน |
ชนิดเคมี Chemical type | ไวนิล อะซิเตท โคโพลิเมอร์ | - |
สถานะ Form | ของเหลวสีขาว | - |
ความถ่วงจำเพาะ, กก./ลิตร (ประมาณ) Specific gravity, kg./litre (Approx.) | ~1.02 กก./ลิตร | ASTM D 1475 |
ความข้นเหลว (เข็มเบอร์ 2, รอบ 60), มิลลิปาสคาลวินาที (ประมาณ) Viscosity (Needle No. 2, round 60), mPa.s (Approx.) | 40-42 มิลลิปาสคาลวินาที | ASTM D 445 |
ความเป็นกรด-ด่าง (ประมาณ) pH (Approx.) | 4.0-5.0 | - |
หัวข้อทดสอบ | เกณฑ์ มอก.2702-2559 | เกณฑ์ ASTMC1059 Type I(Redispersable) | ค่าเฟอร์โรบอนด์101 | หมายเหตุ |
ความต้านแรงยึดจากการเฉือนเอียง ที่ 14 วัน, เมกะปาสคาล (ประมาณ) Bond strength by slant shear at 14 days, MPa. (Approx.) | 2.8 เมกะปาสคาล | 2.8 เมกะปาสคาล | 11.1 เมกะปาสคาล | ผ่าน |
หัวข้อทดสอบ | เฟอร์โรบอนด์101 | น้ำ | ปูนซีเมนต์ปอร์ต-แลนด์ ประเภท 1 | ทราย0.3 มม. |
*หมายเหตุ การผสม (โดยน้ำหนัก) | 1 | 1 | 2.5 | 3.5 |
Application
วิธีผสมและการใช้งาน
Application Information
วิธีการใช้งาน
ผสมน้ำได้หลายอัตรา ขึ้นกับการใช้งาน
ผสมเฟอร์โรบอนด์ 101 ประมาณ 3-4 ตร.ม./ลิตร ในการผสมกับปูนซีเมนต์และทรายละเอียดเป็นชั้นประสานที่
ความหนาประมาณ 0.3-2 มม.
Application Steps
ขั้นตอนการติดตั้ง
1. การประสานพื้นคอนกรีตเก่า-ใหม่ภายในอาคาร
ผสมส่วนผสมให้เข้ากัน ปั่นด้วยสว่านรอบต่ำ 400-600 รอบ/นาที นาน 1-3 นาที ให้เป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นทา
ด้วยแปรงสลัดน้ำ เป็นชั้นประสานหนา 1-2 มม. และเทปูนทราย หรือคอนกรีตทับหน้าตามทันที (ห้ามรอชั้นประสานแห้ง)
2. งานฉาบบาง 1-3 มม. แต่งผิวผนังคอนกรีต
ผสมส่วนผสมให้เข้ากัน ปั่นด้วยสว่านรอบต่ำ 400-600 รอบ/นาที นาน 1-3 นาที ให้เป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นนำ
ไปฉาบแต่งผิวคอนกรีตบาง 1-3 มม.
3. งานสลัดดอก เพื่อเป็นหนามให้ปูนฉาบยึดเกาะ
ผสมส่วนผสมให้เข้ากัน จากนั้นใช้ไม้กวาดทางมะพร้าว หรือแปรง สลัดส่วนผสมให้ติดกับพื้นผิวเสาให้เป็นปุ่มแหลม
ทั่วบริเวณ ทิ้งแห้งอย่างน้อย 3 วัน ก่อนฉาบปูนทับ
การเตรียมผิวพื้นคอนกรีตเก่า
กรณีที่ 1 : ผิวพื้นคอนกรีตเก่าเป็นน้ำปูนที่แห้งไม่แข็งแรง ไม่เหมาะกับการยึดเกาะทับผิว (Laitance) หรือเป็นผิวมันท็อปปิ้ง (Loose mortar topping) ที่พร้อมจะหลุดร่อน
วิธีประเมินผิว
ใช้วิธีกรีดด้วยมีด (Knife test) ถ้าเป็นฝุ่นง่าย มีรอยลึกจากการกรีด ได้ถึง 2 มม. หรือแซะด้วยมีดออกเป็นฝุ่นง่าย แสดงว่าเป็นชั้นน้ำปูนอ่อนแอ ไม่เหมาะกับการเทคอนกรีตทับหน้า
การเตรียมผิว
ผิวที่อ่อนแอจะต้องถูกกัดออกด้วย เครื่องขัดเตรียมผิวคอนกรีต (Concrete scarifier) ให้ได้ความหยาบตามมาตรฐานสถาบันซ่อมแซมคอนกรีตระหว่างประเทศ มีค่าความหยาบระหว่าง 4-6 (The International Concrete Repair Institute-ICRI csp 4-6) จนถึงชั้นที่แข็งแรง ทั้งนี้ เครื่องขัดเตรียมผิวคอนกรีต (Concrete scarifier) จะทำให้ผิวหยาบ (Rough profile) เหมาะกับการยึดเกาะ ส่วนกรณีท็อปปิ้งหลุดร่อนจากผิวคอนกรีต ต้องสกัดและเทท็อปปิ้งใหม่ ปกติควรมีค่ารับน้ำหนักไม่น้อยกว่า 210 กก./ตร.ซม. ที่ 28 วัน ดูดฝุ่นและเช็ดด้วยผ้าม็อบหมาด
หลีกเลี่ยง
การฉีดบ่มน้ำปริมาณมากๆ ลงบนผิวที่เตรียมไว้แล้ว เนื่องจากคอนกรีตมีสา รเคมีป้องกันการถูกแย่งน้ำและมีไพรเมอร์ที่มีส่วนผสมของน้ำ ซึ่งจะแทรกซึมลงไปยึดเกาะบนผิวคอนกรีตที่แห้ง หากคอนกรีตอิ่มน้ำมากเกินไป ไพรเมอร์จะไม่สามารถแทรกลงไปได้และน้ำที่บ่มจะไม่มีทางระบายออก จึงอาจดันแผ่นผิวของคอนกรีตให้บวมเป็นจุดๆ ได้เพราะเซ็ทตัวเร็วมากกว่าการระบายความชื้นของคอนกรีตปกติ จึงต้องเตรียมผิวเหมือนกับงานพื้นอีพ็อกซี่โรงงานอุตสาหกรรม (Epoxy industrial floor)
กรณีที่ 2 : ผิวพื้นเก่าเคลือบสารที่เป็นอุปสรรคต่อการยึดเกาะทั้งที่มองเห็นได้ง่ายและที่สังเกตได้ยาก เช่น น้ำยาบ่ม, น้ำมัน, สารกันน้ำและอีพ็อกซี่
วิธีประเมินผิว
ใช้วิธีหยดด้วยน้ำ (Drop test) หากทดลองหยดน้ำบนผิวแล้วหยดน้ำกลมเหมือนน้ำบนใบบัว ดูดซึมช้า ภายใน 10 วินาที ยังไม่ซึมหมด แสดงให้เห็นว่า น่าจะมีสารเคลือบผิวอยู่
การเตรียมผิว
ใช้เครื่องขัดผิว (Floor grinding) เป็นใบลูกถ้วยเพชร หมุนขัดบนผิวเพื่อลอก สารเคลือบผิวออก หรือใช้เครื่องยิงเม็ดเหล็ก (Shot blast) เพื่อกัดผิวหน้าออกประมาณ 1 มม. ให้ผิวหยาบสะอาด ทั้งนี้ควรทดสอบหยดน้ำอีกครั้งหลังเตรียมผิวและทดลองเท คอนกรีตทดสอบ 1-2 ตร.ม. ก่อนเทแผงใหญ่
กรณีที่ 3 : ผิวพื้นเก่ามีคราบกาวกระเบื้องติดอยู่
วิธีประเมินผิว
กรณีกาว แอสฟัลท์ คัทแบ็ค ไม่มีส่วนผสมของแอสเบสทอส (Cut-Back asphalt adhesive-non asbestos) พื้นผิวทั่วไปจะเป็นยางสีดำ ให้สังเกตการแห้งกรอบ หรือยังเหนียวชื้นอยู่
การเตรียมผิว
ใช้เครื่องขัดเตรียมผิวคอนกรีต (Concrete scarifier) ให้ได้ความหยาบตามมาตรฐานสถาบันซ่อมแซมคอนกรีตระหว่างประเทศมีค่าความหยาบระหว่าง 4-6 (The InternationalConcrete Repair Institute-ICRI csp 4-6) เพื่อรื้อพื้นผิวเดิมออกให้มากที่สุด (มากกว่า 80% โดยเฉพาะเศษที่แห้งกรอบ) ทั้งนี้หากยังมีคราบกาวดำติดแน่นหลงเหลืออยู่บ้าง (20%) และทาด้วยลาเท็กซ์ประสานคอนกรีต (เฟอร์โรบอนด์ 101) สามารถยึดเกาะกับกาวชนิดนี้ได้ โดยจะมีแรงยึดเกาะประมาณ 0.5 เมกะปาสคาล อย่างไรก็ตาม ควรเตรียมผิวให้หยาบ สะอาดที่สุดเป็นลำดับแรก
การผสม
1. การประสานพื้นคอนกรีตเก่า-ใหม่ภายในอาคาร
ผสมส่วนผสมให้เข้ากัน ปั่นด้วยสว่านรอบต่ำ 400-600 รอบ/นาที นาน 1-3 นาที ให้เป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นทา
ด้วยแปรงสลัดน้ำ เป็นชั้นประสานหนา 1-2 มม. และเทปูนทราย หรือคอนกรีตทับหน้าตามทันที (ห้ามรอชั้นประสานแห้ง)
2. งานฉาบบาง 1-3 มม. แต่งผิวผนังคอนกรีต
ผสมส่วนผสมให้เข้ากัน ปั่นด้วยสว่านรอบต่ำ 400-600 รอบ/นาที นาน 1-3 นาที ให้เป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นนำ
ไปฉาบแต่งผิวคอนกรีตบาง 1-3 มม.
3. งานสลัดดอก เพื่อเป็นหนามให้ปูนฉาบยึดเกาะ
ผสมส่วนผสมให้เข้ากัน จากนั้นใช้ไม้กวาดทางมะพร้าว หรือแปรง สลัดส่วนผสมให้ติดกับพื้นผิวเสาให้เป็นปุ่มแหลม
ทั่วบริเวณ ทิ้งแห้งอย่างน้อย 3 วัน ก่อนฉาบปูนทับ
ล้างเครื่องมือด้วยน้ำสะอาด ก่อน เฟอร์โรบอนด์ 101 แห้งตัว
หาก เฟอร์โรบอนด์ 101 แห้งตัวแล้ว ต้องลอกออกด้วยแรงกล เช่น การขูดออก
Product Details
ข้อมูลผลิตภัณฑ์
Sustainability / Certifications / Approvals
ความยั่งยืน / มาตรฐานอ้างอิงการทดสอบผลิตภัณฑ์
เฟอร์โรบอนด์ 101 ได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก. 2702-2559 ลาเท็กซ์ประสาน
คอนกรีต ประเภทใช้ภายในและมาตรฐาน ASTM C1042-99 (Bond strength of
latex systems used with concrete by slant shear and ASTM C1059-99
Latex agents for bonding fresh to hardened concrete)
Product Information
ข้อมูลผลิตภัณฑ์
อายุการเก็บ 1 ปี ในภาชนะ
เก็บในที่ร่ม, แห้ง อุณหภูมิประมาณ 23 °ซ + 2% ความชื้นสัมพัทธ์ 50 + 5%RH (ตามมาตรฐาน ISO 554)
System Information
ข้อมูลระบบ